(Pituitary gland)

Posted by Zora Stowers on Thursday, March 14, 2024


on September 11, 2018

การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์

a href='https://www.honestdocs.co/hypothyroidism' target='_blank'ต่อมใต้สมอง/a

ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland หรือ Hypophysis) เป็นต่อมไร้ท่อขนาดเล็ก อยู่ใต้สมองใหญ่ (จึงได้ชื้อว่า ต่อมใต้สมอง) และอยู่ในส่วนของกระดูกฐานสมอง ด้านบนจะมีเส้นประสาทตาพาดอยู่ ดังนั้นโรคของต่อมใต้สมองจึงส่งผลถึงการมองเห็นได้

ต่อมใต้สมอง เป็นต่อมสำคัญที่สร้าง(Produce) และ/หรือหลั่ง(Secrete) และ/หรือเก็บกัก(Store) ฮอร์โมนหลายชนิด เพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น รังไข่ อัณฑะ ต่อมไทรอยด์ และต่อมหมวกไต

ต่อมใต้สมอง(ต่อมฯ) แบ่งเป็น 3 ส่วน/กลีบ คือ ต่อมใต้สมองกลีบหน้า/ต่อมใต้สมองส่วนหน้า, ต่อมใต้สมองกลีบคั่นกลาง/ต่อมใต้สมองส่วนคั่นกลาง, และต่อมใต้สมองกลีบหลัง/ต่อมใต้สมองส่วนหลัง

ก.ต่อมใต้สมองกลีบหน้า(Anterior lobe อีกชื่อคือ Adenohypophysis หรือ Pars anterior): เป็นกลีบที่ใหญ่ที่สุด ประมาณ 80%ของเนื้อที่ต่อมใต้สมองทั้งหมด มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่

  • ฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต/ Growth hormone(GH)หรือ Human growth hormone(HGH)
  • Adrenocorticotropic hormone (ACTH), Thyroid-stimulating hormone (TSH)
  • Luteinizing hormone (LH)
  • Follicle-stimulating hormone (FSH)
  • Prolactin (PRL)

ทั้งนี้การทำงานสร้าง/หลั่งฮฮร์โมนจากต่อมใต้สมองกลีบหน้านี้อยู่ภายใต้การกำกับควบคุมของสมองส่วนไฮโปธาลามัส

ข. ต่อมใต้สมองกลีบคั่นกลาง(Intermediate lobe ชื่ออื่นคือ Pars intermedia): จะอยู่ระหว่างต่อมใต้สมองกลีบหน้าและกลีบหลัง ซึ่งในคน ต่อมฯส่วนนี้จะมีขนาดเล็กมากๆ และกระจายอยู่ในต่อมฯส่วนหน้า จึงมักนับรวมเป็นส่วนของต่อมฯกลีบหน้า เซลล์ของต่อมฯส่วนนี้จะสร้างฮอรโมน Melanocyte-stimulating hormone(MSH)ชื่ออื่น คือ Intermedin หรือ Melanotropin ที่กระตุ้นการทำงานของเม็ดสีที่ผิวหนัง เชื่อว่าต่อมฯส่วนนี้ทำงานภายใต้สมองไฮโปธาลามัสเช่นกัน

ค. ต่อมใต้สมองกลีบหลัง (Posterior lobe ชื่ออื่น Neurohypophysis หรือ Pars nervosa หรือ Neural lobe): ต่อมฯกลีบหลังนี้ไม่ได้ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน แต่ทำหน้าที่เก็บกัก(Store) และหลั่ง(Secrete) ฮอร์โมน Oxytocin และ Vasopressin ซึ่งสร้างจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งต่อมใต้สมองกลีบหลังก็ทำงาน/หลั่งฮอร์โมนภายใต้การกำกับของสมองไฮโปธาลามัสเช่นกัน

อนึ่ง อ่านเพิ่มเติมในเว็บ บทความเรื่อง “ไฮโปธาลามัส”; เรื่อง “ฮอร์โมนจากไฮโปธาลามัส”; และ “เรื่อง ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง”

บรรณานุกรม

  • [2010,Feb10]
  • [2010,Feb10]
  • [2010,Feb10]
  • [2010,Feb10]
  • [2010,Feb10]
  • [2010,Feb10]
  • Updated 2018, Feb10

    ncG1vNJzZmirY2Ourq3ZqKWar6NjsLC5jq2fmqFdnbKiuNOhZl59YFqPeXGYbmRefWBaj3lxoH1cfmhVd4VmjZBefGldcm5yeX%2BEfmdeemhahnZ5hH5nXnpoWo6CcaRpXHtwVXZ%2BZpGPXnlxXXF5coZ8hHtvXnBnYr2qwNSiq5qqqWK0ra3NnQ%3D%3D